วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 8 แนะนำ การใช้งาน โปรแกรม YTD DOWNLODER


    

สวัสดีค่ะ ทุกคนนนนน  วันนี้นะค่ะ จะมาแนะนำการใช้งานโปรแกรมหรือแอพลิเคชั่น YTD Downloader กันนะค่ะ โปรแกรมนี้เราสามารถใช้โหลดวิดีโอจากยูทูป  และยังสามารถแปลงให้เป็นรูปแบบวิดีโอที่เราต้องการได้อีกด้วย โปรแกรมนี้สามารถใช้งานได้ง่ายๆ เรามาดูวิธีการใช้งานกันดีกว่า 
    
1.เริ่มจากการโหลดโปรแกรมจากอินเตอร์เน็ตง่ายๆ เสิร์ชหาจากอากู๋


2.เมื่อเราดาวน์โหลดโปรแกรมมาเรียบร้อย หน้าตาก็จะออกมาเป็นแบบนี้ โดยจะให้เราไปเลือกคัดลอก URL คลิปที่ต้องการมาจากยูทูป



เวลาแบบนี้คงต้องใช้เพลงยอดฮิตแล้วละ 


 3.คัดลอกเสร็จ ก็ใส่ไปในช่อง Paste URL เลือกโฟลเดอร์เก็บไฟล์ของเราแล้วกดดาวน์โหลด



 4.รอโหลดไปซักพัก ระยะเวลาก็คงแล้วแต่เวรกรรมของคอมพิวเตอร์ของเราแล้วละค่ะ




 5. รอ Progress (ได้ไฟล์ MP4) ถ้าใครอยากได้ไฟล์อื่น ก็สามารถแปลงไฟล์ต่อได้ 




6. เมื่อดาวน์โหลดเสร็จ ให้มาที่หน้า Convert กดเลือกไฟล์ที่โหลดเสร็จ




 7. เมื่อเลือกไฟล์เสร็จ ให้เราตั้งค่าให้เรียบร้อย เช่นจะแปลงไฟล์เป็นไฟล์อะไร คุณภาพระดับไหน เสียงต้องเพิ่มมากกว่าเดิมหรือไม่และอย่าลืมดูโฟลเดอร์ที่เราต้องการให้ไฟล์ไปอยู่กด Conver Video เลย

รอ Progress สีส้มๆ  

 8.เมื่อเรียบร้อยกดเปิดโฟลเดอร์เป้าหมายของเราได้เลยเป็นอันเสร็จ






 แค่อ่านอาจจะไม่เข้าใจ เรามาดูวิดีโอสอนวิธีใช้โปรแกรมกันดีกว่า


 เป็นยังไงบ้างค่ะหลังจากได้อ่านและได้ชม วิธีการใช้โปรแกรมนี้ ง่ายๆเลย ใครๆก็สามารถทำได้  อย่าลืมลองทำกันนะค่ะ

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week7 คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์


    สวัสดีค่ะ ตอนนี้ก็เป็นสัปดาห์ที่ 7 แล้วนะค่ะ  วันนี้เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
     ก่อนอื่นเรามารู้ความหมายของคอมพิวเตอร์กันดีกว่าค่ะ
ภาพจากkankon789.blogspot.com
   
        คอมพิวเตอร์ (computer) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์และไอซี (Intergrated Circuit : IC) ต่างๆมากมาย ซึ่งสามารถจดจำ ประมวลผลข้อมูล เปรียบเทียบ การคำนวณคณิตศาสตร์   นอกจากนี้ยังสามารถนำไปใช้ช่วยออกแบบและสร้างงานกราฟิกได้ อีกทั้งยังตอบสนองความต้องการของเราได้

ต่อมาเรามาดูเครือข่ายคอมพิวเตอร์กันค่ะ
ภาพจากwww.watwhanboon.ac.th

        เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (computer network) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลและทรัพยากรร่วมกันได้  เช่น สามารถใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกัน สามารถใช้ฮาร์ดดิสก์ร่วมกัน แบ่งปันการใช้อุปกรณ์อื่นๆ ที่มีราคาแพง หรือไม่สามารถจัดหาให้ทุกคนได้ แม้กระทั่งสามารถใช้โปรแกรมร่วมกันได้ เป็นการลดต้นทุนขององค์กร

         เครืองข่ายคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นประเภทตามพื้นที่ที่ครอบคลุมการใช้งานของเครือข่าย  ดังนี้

         1)เครือข่ายส่วนบุคคล หรือ แพน (Personal Area Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้ส่วนบุคคล เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศัพท์มือถือ  การเชื่อมต่อพีดีเอกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเชื่อมต่อแบบนี้จะอยู่ในระยะใกล้ และมีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย
ภาพจากwww.wimut.ac.th

           
          2)เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่ในพื้นที่เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน  เช่น ภายในบ้าน ภายในสำนักงาน และภายในอาคาร  สำหรับการใช้งานภายในบ้านนั้นอาจเรียกเครือข่ายประเภทนี้ว่า เครือข่ายพักอาศัย (home network)  ซึ่งอาจใช้การเชื่อมต่อแบบใช้สายหรือไร้สาย
ภาพจาก itiisandtherook.wordpress.com
         
       
             3)เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network)  เป็นเครือข่ายที่ใช้เชื่อมโยงแลนที่อยู่ไกลออกไป เช่น การเชื่อมต่อเครือข่ายระหว่างสำนักงานที่อาจอยู่คนละอาคาร และมีระยะทางไกลกัน การเชื่อมต่อเครือข่ายชนิดนี้อาจใช้สายไฟเบอร์ออพติก หรือบางครั้งอาจใช้ไมโครเวฟเชื่อมต่อ  เครือข่ายแบบนี้ที่ใช้ในสถานศึกษามีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เครือข่ายแคมปัส (Campus Area Network : CAN)


          4)เครือข่ายวงกว้าง หรือ แวน (Wide Area Network) เป็นเครือข่ายที่ใช้ในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นที่อยู่ไกลจากกันมาก เช่น เครือข่ายระหว่างจังหวัด หรือระหว่างภูมิภาค รวมไปถึงเครือข่ายระหว่างประเทศ
ภาพจากkanjanakt.blogspot.com


 รูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์
 การเชื่อมต่อเครือข่ายมีอยู่ด้วยกันหลายลักษณะ แต่ลักษณะที่นิยมใช้นั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่
 

1.แบบดาว (Star Network)

          เป็นลักษณะของการต่อเครือข่ายที่ Work station แต่ละตัวต่อรวมเข้าสู่ศูนย์กลางสวิตซ์ เพื่อสลับตำแหน่งของเส้นทางของข้อมูลใด ๆ ในระบบ ดังนั้นใน โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดต้องการส่งข้องมูลมันจะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์
ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์มันสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้รวดเร็ว เมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้ ในการค้นหาข้อบกพร่องจุดเสียต่างๆ จึงหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก ลักษณะการเชื่อมต่อ เป็นดังรูป

ภาพจากwww.skn.ac.th
 ข้อดี
- ติดตั้งและดูแลง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหนดจะขาด โหนด ที่เหลืออยู่ก็ยังจะสามารถทำงานได้ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้เป็นปกติ
- การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดทำงานบกพร่องเสียหาย ทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะไปแก้ปัญหาที่ใด
ข้อเสีย
- เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน
- การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหนดอื่นๆ ทั้งระบบ
- เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางมีราคาแพง



แบบวงแหวน (Ring Network)

          ได้ถูกออกแบบให้ใช้ Media Access Units (MAU) ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วจึงต่อ คอมพิวเตอร์ (PC) ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้นรับรู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วมันจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลได้รัยสัญญาณตอบรับ แล้วมันจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วมันจะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่งแล้วยังเป็นรีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานี นั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่ อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่มันจะไม่ลบข้อมูลออกจากระบบ มันยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูล ออกจากระบบ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่กลับไม่ได้รับคำตอบ สถานีส่ง TOKEN จะทวนซ้ำข้อมูลเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับคำตอบ จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้ระบบหยุดชะงักการทำงานลงของระบบ เนื่องจากสถานีหนึ่งเกิดการเสียหาย หรือชำรุด ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้ ลักษณะการเชื่อมต่อ เป็นดังรูป 

ภาพจากearth-ring.blogspot.com
 ข้อดี
- ใช้เคเบิลและเนื้อที่ในการติดตั้งน้อย
- คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกัน
ข้อเสีย
- หากโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก




แบบบัส (Bus Network)

          เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อ โดยลักษณะของการส่งหรือรับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณข้อมูลกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อ และมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้ง
ระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนกับระบบสัญญาณอื่นในสาย ซึ่งโดยทั่วไป จะมีค่าความต้านทานประมาณ
50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้เหมือนกัน ลักษณะการเชื่อมต่อก็จะเป็นดังรูป


ภาพจาก www.krui3.com
 ข้อดี
- ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลมากนัก
- สามารถขยายระบบได้ง่าย
- เสียค่าใช้จ่ายน้อย
ข้อเสีย
- อาจเกิดข้อผิดพลาดง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ดต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียว ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ก็จะทำให้เครื่องอื่นส่วนใหญ่หรือทั้งหมดในระบบไม่สามารถใช้งานได้ตามไปด้วย
- การตรวจหาโหนดเสีย ทำได้ยากเนื่องจากขณะใดขณะหนึ่งจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้


 
แบบผสม (Hybrid Network)

             เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกัน มากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็เป็นได้

ภาพจากkruartit.com
การเข้าถึงระยะไกล
              คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจากระยะไกลเช่น อยู่ที่บ้าน หรืออยู่ภาคสนามได้ ในการ เชื่อมต่อก็จะได้คอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสาย โทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถเข้าไป
เรียกใช้ข้อมูลได้สมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัท

    การบริหารเครือข่าย
              เนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป  ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนกที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะ

    ค่าใช้จ่าย
              โดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง นอกจากนี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล

เสริมความรู้
การเชื่อมโยงเครือข่าย 
เทคโนโลยีแบบใช้สายเทคโนโลยีแบบใช้สายต่อไปนี้เรียงลำดับตามความเร็วจากช้าไปเร็วอย่างหยาบๆ
สายUTP
สายคู่บิดเป็นสื่อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายที่สุดสำหรับการสื่อสารโทรคมนาคมทั้งหมด สายคู่บิดประกอบด้วยกลุ่มของสายทองแดงหุ้มฉนวนที่มีการบิดเป็นคู่ๆ สายโทรศัพท์ธรรมดาที่ใช้ภายในบ้านทั่วไปประกอบด้วยสายทองแดงหุ้มฉนวนเพียงสองสายบิดเป็นคู่ สายเคเบิลเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (แบบใช้สายอีเธอร์เน็ตตามที่กำหนดโดยมาตรฐาน IEEE 802.3) จะเป็นสายคู่บิดจำนวน 4 คู่สายทองแดงที่สามารถใช้สำหรับการส่งทั้งเสียงและข้อมูล การใช้สายไฟสองเส้นบิดเป็นเกลียวจะช่วยลด crosstalk และการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างสายภายในเคเบิลชุดเดียวกัน ความเร็วในการส่งอยู่ในช่วง 2 ล้านบิตต่อวินาทีถึง 10 พันล้านบิตต่อวินาที สายคู่บิดมาในสองรูปแบบคือคู่บิดไม่มีต้วนำป้องกัน(การรบกวนจากการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าภายนอก) (unshielded twisted pair หรือ UTP) และคู่บิดมีตัวนำป้องกัน (shielded twisted pair หรือ STP) แต่ละรูปแบบออกแบบมาหลายอัตราความเร็วในการใช้งานในสถานการณ์ต่างกัน
รูปแสดง STP จะเห็น sheath ที่เป็นตัวนำป้องกันอยู่รอบนอก
สายโคแอคเชียลถูกใช้อย่างแพร่หลายสำหรับระบบเคเบิลทีวี, ในอาคารสำนักงานและสถานที่ทำงานอื่นๆ ในเครือข่ายท้องถิ่น สายโคแอคประกอบด้วยลวดทองแดงหรืออะลูมิเนียมเส้นเดี่ยวที่ล้อมรอบด้วยชั้นฉนวน (โดยปกติจะเป็นวัสดุที่มีความยืดหยุ่นกับไดอิเล็กทริกคงที่สูง) และล้อมรอบทั้งหมดด้วยตัวนำอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าจากภายนอก ฉนวนไดอิเล็กทริกจะช่วยลดสัญญาณรบกวนและความผิดเพี้ยน ความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในช่วง 200 ล้านบิตต่อวินาทีจนถึงมากกว่า 500 ล้านบิตต่อวินาที
รูปแสดงสายโคแอคเชียล

'ITU-T G.hn เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สายไฟที่มีอยู่ในบ้าน (สายโคแอค, สายโทรศัพท์และสายไฟฟ้า) เพื่อสร้างเครือข่ายท้องถิ่นความเร็วสูง (ถึง 1 Gb/s)

        ใยแก้วนำแสง เป็นแก้วไฟเบอร์ จะใช้พัลส์ของแสงในการส่งข้อมูล ข้อดีบางประการของเส้นใยแสงที่เหนือกว่าสายโลหะก็คือมีการสูญเสียในการส่งน้อยและมีอิสรภาพจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีความเร็วในการส่งรวดเร็วมากถึงล้านล้านบิตต่อวินาที เราสามารถใช้ความยาวคลื่นที่แตกต่างของแสงที่จะเพิ่มจำนวนของข้อความที่ถูกส่งผ่านสายเคเบิลใยแก้วนำแสงพร้อมกันในเส้นเดียวกัน
ภาพจากwww.bloggang.com


เทคโนโลยีไร้สาย
'ไมโครเวฟบนผิวโลก - การสื่อสารไมโครเวฟบนผิวโลกจะใช้เครื่องส่งและเครื่องรับสัญญาณจากสถานีบนผิวโลกที่มีลักษณะคล้ายจานดาวเทียม ไมโครเวฟภาคพื้นดินอยู่ในช่วงกิกะเฮิรตซ์ที่ต่ำ ซึ่งจำกัดการสื่อสารทั้งหมดด้วยเส้นสายตาเท่านั้น สถานีทวนสัญญาณมีระยะห่างประมาณ 48 กิโลเมตร (30 ไมล์)
ภาพจากwww.huaikrot.ac.th

ดาวเทียมสื่อสาร - การสื่อสารดาวเทียมผ่านทางคลื่นวิทยุไมโครเวฟที่ไม่ได้เบี่ยงเบนโดยชั้นบรรยากาศของโลก ดาวเทียมจะถูกส่งไปประจำการในอวกาศ ที่มักจะอยู่ในวงโคจร geosynchronous ที่ 35,400 กิโลเมตร (22,000 ไมล์) เหนือเส้นศูนย์สูตร ระบบการโคจรของโลกนี้มีความสามารถในการรับและถ่ายทอดสัญญาณเสียง, ข้อมูลและทีวี

ภาพจากgreentae.wordpress.com
 ระบบเซลลูลาร์และ PCS ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารวิทยุหลายเทคโนโลยี ระบบแบ่งภูมิภาคที่ครอบคลุมออกเป็นพื้นที่ทางภูมิศาสตร์หลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่มีเครื่องส่งหรืออุปกรณ์เสาอากาศถ่ายทอดสัญญาณวิทยุพลังงานต่ำเพื่อถ่ายทอดสัญญาณเรียกจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งข้างหน้า
ภาพจากwww.mvt.co.th


  เทคโนโลยีวิทยุและการแพร่กระจายสเปกตรัม - เครือข่ายท้องถิ่นไร้สายจะใช้เทคโนโลยีวิทยุความถี่สูงคล้ายกับโทรศัพท์มือถือดิจิทัลและเทคโนโลยีวิทยุความถี่ต่ำ. LAN ไร้สายใช้เทคโนโลยีการแพร่กระจายคลื่นความถี่เพื่อการสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายชนิดในพื้นที่จำกัด. IEEE 802.11 กำหนดคุณสมบัติทั่วไปของเทคโนโลยีคลื่นวิทยุไร้สายมาตรฐานเปิดที่รู้จักกันคือ Wifi
ภาพจากwww.v3.co.uk

  การสื่อสารอินฟราเรด สามารถส่งสัญญาณระยะทางสั้นๆมักไม่เกิน 10 เมตร ในหลายกรณีส่วนใหญ่ การส่งแสงจะใช้แบบเส้นสายตา ซึ่งจำกัดตำแหน่งการติดตั้งของอุปกรณ์การสื่อสาร
ภาพจากsupport-th.canon-asia.com

  เครือข่ายทั่วโลก (global area network หรือ GAN) เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการสนับสนุนการใช้งานมือถือข้ามหลายๆ LAN ไร้สาย หรือในพื้นที่ที่ดาวเทียมครอบคลุมถึง ฯลฯ ความท้าทายที่สำคัญในการสื่อสารเคลื่อนที่คือการส่งมอบการสื่อสารของผู้ใช้จากพื้นที่หนึ่งไปอีกพื้นที่หนึ่ง ใน IEEE 802 การส่งมอบนี้เกี่ยวข้องกับความต่อเนื่องของ LAN ไร้สายบนผิวโลก .
ภาพจาก7570nj.blogspot.com


     เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ หลังจากได้อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งคงเป็นความรู้ใหม่สำหรับหลายๆคน ในสัปดาห์หน้าเราจะมาเขียนเกี่ยวกับอะไร อย่าลืมติดตามกันนะค่ะ



         



ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก 
- หนังสือเรียนรายวิชา เทคโนโลยีและสารสนเทศ และ การสื่อสาร
-http://www.chakkham.ac.th/technology/network/network01.html

วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week6 วิเคราะห์ข้อสอบ onet คอมพิวเตอร์ 5 ข้อ

      สวัสดีค่ะ  ทุกคนนนน  วันนี้เราจะมานำเสนอตัวอย่างข้อสอบ ONET คอมพิวเตอร์ ที่มีประโยชน์สำหรับเพื่อนๆ ม.6 มากๆ เลย จะเป็นยังไงไปดูกันเลยย
ภาพจาก campus.sanook.com

                O-NET คืออะไร ทำไมต้องสอบ ?
 O-NET คือ การทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน ซึ่งในภาษาฝรั่งก็คือ Ordinary National Education Test ที่จัดสอบโดย สทศ. ชื่อเต็มๆ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษ National Institute of Educational Testing Service ตัวย่อ NIETS
ซึ่งการสอบ O-NET นี้จะใช้วัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดต่างๆให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งก็จะใช้วัดความรู้และความคิดของนักเรียนในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 โดย ที่ข้อสอบจะประกอบไปด้วยเนื้อหา 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่
  1. ภาษาไทย
  2. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  3. ภาษาอังกฤษ
  4. คณิตศาสตร์
  5. วิทยาศาสตร์
  6. สุขศึกษาและพลศึกษา
  7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
  8. ศิลปะ
และนอกจาก O-NET จะใช้เป็นตัววัดระดับการศึกษาของเด็กไทยแล้ว ยังเป็นคะแนนที่น้องๆระดับชั้นต่างๆต้องนำไปใช้ในการสมัครเข้าเรียนระดับ ชั้นต่อไปด้วย ก็คือ น้องๆชั้น ป.6 และ ม.3 ต้องใช้คะแนน O-NET สมัครเข้าเรียน ม.1 และ ม. 4 โดยให้น้ำหนัก 20% (โดยจะมีผลตั้งแต่ปีการศึกษา 2554 เป็นต้นไป) และสำหรับน้อง ม.6 ใช้คะแนน O-NET ในการสมัคร Admission 30%

         เห็นกันไปแล้วนะค่ะ ว่าการสอบ ONET สำคัญกับเราแค่ไหน ถ้าอย่างงั้น เรามาดูข้อสอบ ONET คอมพิวเตอร์ กันดีกว่า
        < ข้อสอบวิชาคอมพิวเตอร์ จะอยู่ในหมวด การงานอาชีพและเทคโนโลยี >

      

1.ข้อใดไม่ใช่ระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้บนอุปกรณ์พกพา ประเภท  Smartphone.                          
  1.  Ubumtu                          2.  Iphone  os                 
  3.  Android                          4.  Symbian
ตอบ 1 Ubumtu  เพราะ Ubumtu เป็นระบบปฎิบัติการในคอมพิวเตอร์

2.ข้อใดไม่ใช่ข้อเสียของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์.
  1.  การทำผิดกฏหมายลิขสิทธิ์มีความผิดทางอาญา
  2.  เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์
  3.  ผู้ใช้จะไม่ได้รับการบริการจากผู้พัมนาถ้าหากมีปัญหาการใช้งาน
  4.  ทำให้ผู้พัมนาซอฟแวร์ไม่มีรายได้เพื่อประกอบการและพัฒนาต่อไปได้

ตอบ 2 เป็นช่องทางหนึ่งในการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ เพราะ การละเมิดลิขสิทธิ์ หมายถึง การนำผลงานของผู้อื่นมาใช้ เผยแพร่ ดัดแปลง ทำซ้ำ โดยผู้เป็นเจ้าของผลงานไม่อนุญาตหรือไม่ได้รับทราบ  

3.ไฟล์ประเภทใดในข้อต่อไปนี้เก็บข้อมูลในลักษณะตัวอักษร.
  1.  ไฟล์เพลง  MP 3 (mp 3)
  2.  ไฟล์รูปประเภท  JPEG (jpeg)
  3.  ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)
  4.  ไฟล์วีดีโอประเภท  Movie (movie) 

ตอบ 3 ไฟล์แสดงผลหน้าเว็บ (html)  เพราะ  HTML คือ ภาษาหลักที่ใช้ในการเขียนเว็บเพจ โดยใช้ Tag ในการกำหนดการแสดงผล HTML ย่อมาจากคำว่า Hypertext Markup Language  
 


4.ห้องสมุดแห่งหนึ่งต้องการพัมนาระบบยืมหนังสือโดยสามารถบันทึกข้อมูลการยืมหนังสือลงบนบัตรอิเลคโทรนิกส์โดยไม่ต้องเขียนด้วยมือระบบนี้ควรใช้เทคโนโลยีในข้อใด.
    1.  Smart  Card           2.  Fingerprint
    3.  Barcode                 4.  WiFi

ตอบ 3 Barcode  เพราะ Barcode สามารถนำมาใช้ตรวจสอบการเข้า-ออก ของหนังสือได้



6.ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด(Open Source)อนุญาต
ให้ผู้ใช้ทำอะไรได้บ้าง.
    ก.  นำโปรแกรมมาใช้งานโดยไม่ต้องเสียค่าลิขสิทธิ์
    ข.  ทดลองใช้โปรแกรมก่อนถ้าพอใจจึงจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 

    ค.  แก้ไขปรับปรุงโปรแกรมเองได้

   1.  ข้อ  ก กับ  ข้อ  ค           2.  ข้อ  ข  กับ  ข้อ  ค  

   3.  ข้อ  ข  อย่างเดียว          4.  ข้อ  ก  อย่างเดียว
 
ตอบ 4 ข้อ ก อย่างเดียว ลิขสิทธิ์โปรแกรมประเภทรหัสเปิด คือ ซอฟต์แวร์ที่เปิดแผยหลักการหรือแหล่งที่มาของเทคโนโลยีของซอฟต์แวร์นั้นให้บุคคลภายนอกได้ใช้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

เป็นยังไงบ้างค่ะ หลังจากได้เห็นตัวอย่างข้อสอบ Onet คอมพิวเตอร์กันไปแล้ว  คงไม่ยากเกินไปสำหรับเพื่อนๆ  แต่ก็อย่าลืมเตรียมตัวอ่านหนังสือสอบ กันนะค่ะ เพราะ ONET เราสามารถสอบได้แค่ครั้งเดียวในชีวิต  ขอให้เพื่อนๆทุกคนโชคดีค่าาาา 




ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก http://www.slideshare.net/krunjoy/onet-53-16211342